วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554

12 วิธีวางแผนใช้เงินอย่างฉลาด

ราคาน้ำมันพุ่งไม่หยุด สินค้าอุปโภคบริโภคก็พากันขึ้นราคา ภาวะแบบนี้ไม่ว่ามนุษย์เงินเดือน พ่อค้า-แม่ขาย หรือนักธุรกิจรายใหญ่ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องวางแผนการเงินให้รอบคอบ ทั้งการใช้เงินในชีวิตประจำวัน การลงทุน และการเก็บออม ซึ่งในฐานะที่บริษัท จีอี มันนี่ ประเทศไทย เป็นผู้ให้บริการสินเชื่อเพื่อผู้บริโภค จึงแนะนำ “12 วิธีสู่การวางแผนรวยตลอดปี” เพื่อให้คนไทยได้นำไปใช้และปฏิบัติ เพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่พอเพียง ...

1.การวางแผนการเงิน
การวางแผนการเงิน ถือเป็นข้อพึงปฏิบัติแรกที่ทุกคนจะต้องทำ ทั้งวางแผนการเงินของตัวเองและครอบครัวให้เหมาะสม ซึ่งเชื่อมโยงถึงรายได้ รายจ่าย การออม การลงทุน ภาษี การจัดการ หนี้สิน และการเตรียมตัวป้องกันความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น โดยขั้นตอนการวางแผน ประกอบด้วย
1) การสำรวจตัวเอง เพื่อให้รู้จักอุปนิสัยทางการเงิน รู้เงื่อนไขข้อจำกัดของตนเอง เพื่อจะได้นำมาปรับใช้ในการวางแผนทางการเงิน
2) กำหนดเป้าหมาย หรือสิ่งที่ต้องการ และระยะเวลาโดยแบ่งเป็นเป้าหมายระยะยาว (5, 15, 20 ปี) และเป้าหมายระยะสั้น (ไม่เกิน 1 ปี)
3) จัดสัดส่วนการใช้เงินให้เหมาะสม ควรกันเงินสำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นก่อน แล้วนำเงินที่เหลือมาออมหรือลงทุนด้วยวิธีต่างๆ โดยคะเนว่า จะได้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับเงินที่ต้องการ
4) ลองนำแผนมาปฏิบัติ ถ้าตัวเลขที่วางไว้ยังห่างไกล ให้ปรับแผนเสียใหม่ เช่น ตัดค่าใช้จ่าย หรือลดเงินเป้าหมาย

เคล็ดลับการออมเงิน

1. เริ่มเก็บเงินวันนี้
อ่านหน้านี้จบ เดินไปหยอดกระปุกเลย
แค่ 10 บาท ก็ถือเป็นนิมิตหมายอันดี แต่ที่สำคัญ เริ่มเสียแต่เดี๋ยวนี้

2. เงินออม = บิล รักษาวินัย
เอาเงินเข้าบัญชีเงินออม เหมือนเวลาที่คุณต้องไปจ่ายบิล แค่นี้ คุณก็จะมีเงินออมเข้าทุกเดือน

3. หากล่องออมสิน ซองใส่เงิน กระเป๋าเศษตังค์ แล้วหยอดเงินจำนวนเท่าเดิม เป็นเวลาเท่าๆกันทุกวัน เช่น 10 บาท ทุกๆวัน หรือ ทุกๆวันเสาร์ และอย่าไปนับ อย่าไปใช้ (แนะให้เป็น กระปุกออมสินแบบ ไม่มีรูแงะ จะดีที่สุด)

4. ตกเย็นกลับถึงบ้าน เทกระเป๋า เทเอาเศษเหรียญลงในกระปุกให้หมด อย่าดูถูกเหรียญบาท เพราะ 100 เหรียญ ก็เท่ากับ แบงก์ ร้อย หนึ่งใบนะ

5. ใช้ การ์ด แคชแบ็ค ใช้บัตรเครดิตแล้ได้เงินคืนบ้างก็ยังดี

วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เคล็ดลับ..สู่ความสำเร็จ

ไม่ว่าคุณจะทำอะไรก็ตาม ผลที่ตามมามีได้ 2 อย่างด้วยกัน คือ ความสำเร็จและความล้มเหลว ซึ่งคิดว่าใคร ๆ ก็ปรารถนาที่จะให้ตัวเองประสบความสำเร็จด้วยกัน ทั้งนั้น แต่จะทำอย่างไรเราจึงจะหลีกเลี่ยงความล้มเหลวได้พ้น

ประการแรก
หากคุณกำลังล้มเหลวอยู่ ให้คุณลองประเมินดูว่า อะไรกันแน่ที่เป็นสาเหตุ แห่งความล้มเหลวของคุณ แล้วพยายามแก้ไขที่สาเหตุนั้น เช่น หากล้มเหลว เพราะคุณมีความสามารถไม่พอ คุณก็ต้องพัฒนาตนเองให้มีความสามารถมากขึ้น ถ้าคิดว่าเป็นเพราะคุณไม่ได้ตั้งใจ ทำไปเล่น ๆ ไม่ได้พยายามเท่าที่ควร คราวหน้า คุณก็ต้องทุ่มเทกำลังกาย กำลังใจ กำลังสติปัญญา กำลังทรัพย์ให้มากขึ้นกว่าเดิม

ประการต่อมา
นอกจากคุณต้องประเมินตัวเองตามความเป็นจริงแล้ว คุณต้องตั้งเป้าหมายของคุณ ให้อยู่บนความเป็นจริงที่คุณจะประสบผลสำเร็จได้ด้วย ถ้าคุณตั้งเป้าหมายสูงมากเกินไป โอกาสล้มเหลวก็มี แต่ถ้าตั้งเป้าหมายต่ำไป แม้จะสำเร็จได้โดยง่าย แต่ก็ไม่สร้างความภาคภูมิใจให้กับคุณเท่าที่ควร และคุณก็อาจจะไม่มีโอกาสได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่ หรือไม่มีโอกาสพัฒนาตัวเองให้มีความสามารถสูงขึ้นกว่าที่เคยเป็นอยู่ด้วย เพราะฉะนั้น เป้าหมายของคุณจึงควรมีความยากพอสมควร ท้าทายความสามารถ ทำให้คุณต้องออกแรงพยายามบ้างจึงจะดีที่สุด